ทวี รัชนีกร

จิตรกรรม

เกิด : 10 ตุลาคม 2477

ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ประติมากรรม) พุทธศักราช 2548

การศึกษา :

– ปริญญาตรี ศิลปบัณฑิต คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

– ศิลปมหาบัณฑิต (จิตรกรรม) มหาวิทยาลัยศิลปากร

รางวัล/เกียรติยศ :

2501 – รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 3 เหรียญทองแดง ประเภทจิตรกรรม จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 9

2502 – รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 3 เหรียญทองแดง ประเภทจิตรกรรม จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 10

2503 – รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 2 เหรียญเงิน ประเภทจิตรกรรม จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 11

– รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 3 เหรียญทองแดง ประเภทจิตรกรรม จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 11 2504

– รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 2 เหรียญเงิน ประเภทจิตรกรรม จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 12

2544 – ได้รับเลือกให้เป็นศิลปินดีเด่น จังหวัดนครราชสีมา

– ได้รับเลือกให้เป็นศิลปินยอดเยี่ยม “ทุนสร้างสรรค์ ศิลป์ พีระศรี” ประจำปี 2544

2545 – ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติรางวัลมนัส เศียรสิง “แดง” สาขาทัศนศิลป์ดีเด่น ด้านสันติภาพ ประชาธิปไตย และความเป็นธรรม

2548 – ได้รับยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) จากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ

ทวี  รัชนีกร ทวี รัชนีกรเป็นศิลปินที่ทุ่มเทสร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรมมาตลอดระยะเวลา 30 ปี การสร้างผลงานด้านจิตรกรรมของนายทวี รัชนีกร ได้แสดงออกโดยการทำให้เห็นความงดงามของธรรมชาติที่ผสมผสานความคิดที่ลุ่มลึกเกิดเป็นรูปแบบทางจิตรกรรมที่มีลักษณะเฉพาะตัว จนได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้มีผลงานดีเด่นมาตั้งแต่ช่วงที่ยังเป็นนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยรับรางวัลระดับชาติทางด้านจิตรกรรมและภาพพิมพ์ต่อกันถึง 4 ครั้ง จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 9-12 หลังจากนั้นได้รับเลือกให้เป็นศิลปินดีเด่น ของจังหวัดนครราชสีมา เคยได้รับรางวัลศิลปินยอดเยี่ยม “ทุนสร้างสรรค์ศิลป์ พีระศรี” ประจำปี 2544 และได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติ รางวัลมนัส เศียรสิงห์ “แดง” สขาทัศนศิลป์ดีเด่น ด้านสันติภาพ ประชาธิปไตย และความเป็นธรรมความโดดเด่นของผลงานที่ผ่านมาทำให้ได้รับการยกย่องเป็นศิลปินแห่งชาติ ในปี 2548

ทวี รัชนีกร ได้ทุ่มเทให้กับการทำงานอย่างเต็มที่และยังอุทิศเพื่อสร้างคุณประโยชน์ต่อสังคม ลักษณะพิเศษของผลงานคือ การปะสานกันระหว่างรูปแบบทางศิลปะกับความเป็นท้องถิ่นนั่นคือการสะท้อนให้เห็นภาวะของสังคม วิถีชีวิต และความเชื่อของผู้คน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนวัสดุพื้นบ้านอีสานมาพัฒนาสู่การสร้างสรรค์ให้ออกมาเป็นจิตรกรรมร่วมสมัยได้อย่างโดดเด่น และยังมีส่วนร่วมเป็นผู้บุกเบิกการสร้างงานเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียนให้ได้รับการยอมรับในวงการวิชาการศิลปะสาขาต่างๆอันก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมเป็นอย่างยิ่ง

Some of Works

หอศิลป์ เซเว่น รังสรรค์ 119  อาคารธาราสาทร ชั้น 1  ซ.สาทร 5  ถ.สาทรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120